Growth Model

หลักการ Best Owner สำหรับการลงทุนเพื่อ Innovation

Rerkchai Lertwattanakomet

ปัจจุบันเป็น Senior Corporate M&A Development Manager ที่บริษัท Kasikorn Vision ซึ่งเป็น Investment Holding และ Corporate Venture Capital ของธนาคารกสิกรไทย

หลักการ Best Owner สำหรับการลงทุนเพื่อ Innovation

จุดเริ่มต้น..

ย้อนกลับไปในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือก่อนปี ค.ศ. 1945 หากเรามีไอเดียสำหรับ Innovation เราจำเป็นที่จะต้องอยู่ในครอบครัวที่มีความมั่งคั่งอีกด้วย ถึงจะสามารถสร้าง Innovation ดังกล่าวขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตามภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารชาวอเมริกันมากมายเดินทางกลับสู่ดินแดนมาตุภูมิพร้อมกับไอเดีย Innovation ต่างๆ แต่ขาดแคลนซึ่งทุนทรัพย์

ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของ Georges Doriot ชาวอเมริกันที่อพยพมาจากประเทศฝรั่งเศส ได้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท American Research and Development Corporation (“ARDC”) ในปี ค.ศ. 1946  ขึ้น โดยมีจุดประสงค์หลักในการช่วยเหลือด้าน Funding โดยการเป็นสื่อกลางที่ช่วยในการระดมทุนจาก สถาบัน บริษัท และกลุ่มครอบครัวที่มีความมั่งคั่งในสมัยนั้น ให้แก่ทหารที่มีไอเดีย หรือ Innovation เป็นเลิศ

ซึ่งจากโมเดลธุรกิจดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจ Venture Capital แห่งแรกของโลกเลยทีเดียว โดยในภายหลัง Georges Doriot ได้รับการขนานนามว่า “บิดาแห่ง Venture Capital” รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโรงเรียนธุรกิจ INSEAD ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งใน Business School ที่ดีที่สุดในโลก  อีกด้วย

จากรูปแบบการประกอบธุรกิจดังกล่าวจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า Best Owner ขึ้น โดยในปัจจุบันในแต่ละ Life Cycle ของธุรกิจนั้นจำเป็นที่จะต้องมี Owner ที่มีความเหมาะสม หากมี Owner ที่มีความเหมาะสมแล้วจะเป็นส่วนของสำคัญในการผลักดันการสร้าง การขยาย และการต่อยอดของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ Venture Capital นั้นจัดได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญในระยะแรก (Early Stage) ใน Life Cycle ของธุรกิจที่มีไอเดียริเริ่มในการสร้าง Innovation หรือที่เราเรียกติดปากกันว่า “Startup” นั้นเอง

Life Cycle ของธุรกิจ Startup

หากกล่าวถึงคำจำกัดความง่ายๆ ของธุรกิจ Startup ในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีความสามารถในการนำ Innovation มาใช้ในการขยาย และสร้างอัตราการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยหากพบเห็นธุรกิจ Startup สามารถสร้างอัตราการเติบโตได้หลายเท่าตัวในระยะเวลาเพียงหลักเดือนเท่านั้น อย่างไรก็ตามธุรกิจ Startup โดยส่วนใหญ่นั้นจะมี Life Cycle เฉกเช่นเดียวกับในทุกธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะหลักๆ ดังต่อไปนี้

1.Ideation

โดยในระยะนี้  Startup ดังกล่าวจะเริ่มต้นจากการตั้งโจทย์ที่ต้องการเข้าไปแก้ไขปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย หรือที่เราเรียกกันว่า Problem หรือ Pain Point โดยการใช้ Innovation ต่างๆ ในการเป็น Solution ของการแก้ปัญหาดังกล่าว

2.Minimum Viable Product (MVP)

เมื่อ Startup ดังกล่าว มีไอเดียในการสร้าง Solution ด้วย Innovation แล้ว จะทำการสร้าง MVP ขึ้นมา ซึ่งเปรียบเสมือน Prototype ของ Innovation ที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ Problem หรือ Pain Point นั้นๆ ได้

3.Product/Market Fit

ในระยะนี้ Startup จะเริ่มมีการนำ MVP ดังกล่าวมาทดลองให้บริการ และ Startup เหล่านั้นทำการเก็บ Traction และข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นข้อพิสูจน์สำคัญ และสามารถตรวจสอบได้ว่าจะสามารถแก้ Problem หรือ Pain Point ของผู้ใช้ได้จริงหรือไม่

4.Scale

หาก Startup นั้นๆ สามารถผ่านระยะที่ 3 หรือ Product/ Market Fit ไปได้แล้ว Startup ดังกล่าวจะสามารถมั่นใจได้ว่า Innovation ของตนเองนั้นสามารถแก้ Problem หรือ Pain Point ของผู้ใช้ได้จริง จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการ Scale หรือการขยายนั้นเอง

5.Maturity

ภายหลังจากการ Scale แล้ว ธุรกิจ Startup อาจมีอัตราการเติบโตที่เข้าใกล้กับธุรกิจที่อิ่มตัวแล้ว กล่าวคือไม่สามารถสร้างอัตราการเติบโตของยอดขายที่สูงเหมือนเดิมได้อย่างต่อเนื่องอีก ดังนั้น Startup ที่อยู่ในระยะนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลงทุนสำหรับ Innovation ใหม่ๆ เพื่อสร้าง New S-Curve ขึ้นมา

จากการแบ่ง Life Cycle หลักๆ ข้างต้น จะเห็นได้ว่าในแต่ละระยะของ Startup นั้นจะมีการดำเนินธุรกิจ และสิ่งที่ต้อง Focus แตกต่างกันไป ซึ่งในทุกระยะจะมีเครื่องมือสำคัญที่จะเข้ามาช่วยเหลือในส่วนของการ Funding เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละระยะได้ โดยเครื่องมือดังกล่าว เรียกว่า “การระดมทุน” หรือ Fundraising นั้นเอง

การระดมทุน (Fundraising) ของธุรกิจ Startup

การระดมทุน (Fundraising) ในธุรกิจ Startup นั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดัน และนำ Startup ไปสู่เป้าหมายของตนเองในแต่ละระยะได้ โดยการระดมทุนสามารถทำได้จากการนำเสนอ โมเดลธุรกิจ (Business Model) และแผนธุรกิจ (Business Plan)  ให้แก่นักลงทุน เพื่อเชิญให้เข้าร่วมลงทุนกับ Startup

โดยแลกกับสัดส่วนความเป็นเจ้าของหรือเป็นหุ้นนั้นเอง โดยการระดมทุน (Fundraising) ของ Startup นั้น จะสามารถแบ่งออกเป็นรอบๆ ในจำนวนเงินลงทุน และประเภทของนักลงทุนที่แตกต่างกันไปในแต่ละรอบ ดังต่อไปนี้

Pre-Seed Round

โดย Startup ในการระดมทุน (Fundraising) รอบนี้ จะจัดอยู่ใน Life Cycle ของระยะ Ideation หรือเริ่มเข้าสู่ระยะของ MVP แล้วโดย Startup จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุน (Fundraising) มาใช้ในการหา Solution ที่จะสามารถทำการแก้ Problem หรือ Pain Point ของผู้ใช้ได้

นักลงทุนที่เหมาะสม: โดยส่วนมากจะยังไม่มีนักลงทุนสถาบัน หรือบริษัทในรอบนี้ ดังนั้นทุนทรัพย์ส่วนตัวของผู้ก่อตั้ง (Founder) รวมถึงเพื่อน และสมาชิกในครอบครัว จะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก

Seed Round

ถือได้ว่าเป็นการระดมทุน (Fundraising) อย่างเป็นทางการครั้งแรกของ Startup โดยในการระดมทุนครั้งนี้ Startup ดังกล่าว จะอยู่ในระยะของ MVP เป็นอย่างน้อย เนื่องจากการนำเสนอต่อนักลงทุน จำเป็นที่จะต้องมี Prototype ควบคู่ไปกับ โมเดลธุรกิจ (Business Model) และแผนธุรกิจ (Business Plan

นักลงทุนที่เหมาะสม: Venture Capital ที่มีนโยบายการลงทุนใน Seed Round รวมทั้งกลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งสูง (High Net Worth) โดยการระดมทุนในรอบนี้จะมีมูลค่าอยู่ในช่วง 10,000 เหรียญสหรัฐ ถึง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เลยทีเดียว และนักลงทุนในรอบนี้ส่วนมากจะถูกเรียกว่าเป็น “Angel Investor” ซึ่งเปรียบเสมือนเทวดาที่เข้ามาช่วยเหลือการสร้างธุรกิจ

Early Stage Round (Series A, B และ C)

ภายหลังจากการได้รับ Funding ในรอบ Seed Round แล้ว Startup พร้อมที่จะเข้ารับการพิสูจน์ว่า Innovation ของตนเองจะสามารถแก้ไข Problem หรือ Pain Point ของผู้ใช้ได้จริงหรือไม่ตามจุดมุ่งหมาย Startup ดังกล่าวจะทำการระดมทุน (Fundraising) ในรอบ Early Stage Round อันประกอบด้วย Series A และ Series B โดยมุ่งเน้นที่จะนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุน (Fundraising) มาพัฒนา ปรับปรุง Innovation ของตนเอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถแก้ Problem หรือ Pain Point ของผู้ใช้ได้จริง หากผ่านจุดนี้ไปได้นั้น Startup จะไม่ลังเลที่จะระดมทุนในรอบ Series C ต่อไปเพื่อทำการ Scale ยอดขายจากการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้งานได้

นักลงทุนที่เหมาะสม: เนื่องจากในการระดมทุนในรอบนี้ จะมีมูลค่าค่อนข้างสูงจึงทำให้กลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งสูง (High Net Worth) มีโอกาสน้อยลงในการเข้าร่วม จึงส่งผลให้เหลือเพียง Venture Capital หรือบริษัทต่างๆ เท่านั้น โดย Series A จะมีการระดมทุนอยู่ในมูลค่าประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึง ประมาณ 15 ล้านเหรียญ4สหรัฐ และ Series B ประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึง ประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ Series C จะมีการระดมทุนอยู่ในมูลค่าประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ

Late Stage Round (ตั้งแต่ Series D ขึ้นไป)

ภายหลังจากการ Scale แล้ว โดยส่วนมากหาก Startup ดังกล่าวยังสามารถสร้างพื้นที่อยู่ในตลาดจะมีแนวโน้มในการเติบโตสูงอย่างมาก รวมทั้งจะเป็นกลุ่มผู้นำของอุตสาหกรรมนั้นๆ ในตลาดของตนเองได้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้สูญเสียความเป็นกลุ่มผู้นำในตลาด Startup ดังกล่าว ควรที่จะพัฒนา Innovation ของตนเอง หรือแม้กระทั่งสร้าง Innovation ใหม่ๆ รวมทั้งการขยายออกไปสู่ตลาดอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าสู่ระยะ Maturity ให้ได้มากที่สุด โดย Startup ในระยะนี้ยังสามารถทำการระดมทุนได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะเรียกว่าเป็น Late Stage Round โดยเริ่มจาก Series D และต่อไปเรื่อยๆ

นักลงทุนที่เหมาะสม: Venture Capital ที่มีนโยบายการลงทุนใน Late Stage Round รวมทั้งธุรกิจที่เรียกว่า Private Equity ซึ่งมุ่งเน้นในการลงทุนในธุรกิจที่ค่อนข้างอยู่ตัวแล้ว โดย Startup ในระยะนี้มีความเสี่ยงในการล้มละลายน้อยกว่า โดยส่วนมาก Late Stage Round จะมีมูลค่าการระดมทุนอยู่ที่รอบละไม่น้อยกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยการระดมทุน (Fundraising) ในแต่ละรอบที่กล่าวมาข้างต้น  นักลงทุนจะทำการกำหนดมูลค่า (Valuation) ของธุรกิจขึ้นมาร่วมกันกับ Startup เพื่อใช้ในการกำหนดราคาต่อหุ้น (Price per Share) โดยหากบริษัทไหนที่มีมูลค่าของกิจการมากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จะถือว่าเป็น Startup Unicorn และหากมีมูลค่าถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จะเรียกว่าเป็น Startup Decacorn เช่น AirBNB, Grab, OYO Rooms และ Go-Jek เป็นต้น

อย่างไรก็ตามมูลค่าการระดมทุน รอบการระดมทุนและ Life Cycle ของ Startup นั้นอาจไม่ได้สอดคล้องตามที่กล่าวไปข้างต้นในทุกกรณี เนื่องจากหลายๆปัจจัย เช่น บางธุรกิจมีโมเดลธุรกิจที่ถูกออกแบบให้สามารถต่อยอดธุรกิจได้ด้วยตนเองตั้งแต่เริ่มแรก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการระดมทุน (Fundraising) เพื่อเสียความเป็นเจ้าของหรือหุ้นให้ใคร

Best Owner ในระยะแรก (Early Stage) ของธุรกิจ Startup

จากที่กล่าวไปเบื้องต้น หาก Startup สามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เรียกว่าการระดมทุน หรือ Fundraising นั้น ในระยะแรกของ Life Cycle ของธุรกิจ บริษัท Venture Capital จะถือได้ว่าเป็น Best Owner ของธุรกิจ เนื่องจาก Venture Capital ที่ดีนั้นจะไม่เพียงแต่นำเงินทุนมาให้ตามที่ Startup ต้องการ แต่จะนำมาซึ่งความรู้มาสู่ Startup ผ่านการทำ Knowledge Sharing ต่างๆ รวมทั้งช่วยเหลือในการเป็นสื่อกลางในการสร้างเครือข่าย หรือ Network ให้แก่ Startup เพื่อให้เข้าถึงโอกาสในการขยายธุรกิจ และการระดมทุน (Fundraising) ในครั้งต่อๆไป อีกด้วย

วงการ Venture Capital ในอาเซียน และประเทศไทย

กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเราในอาเซียนนั้นมี Startup Unicorn อยู่ทั้งสิ้น 8 บริษัท ใน 5 ประเทศ ประกอบด้วย VNG จากประเทศเวียดนาม Grab จากประเทศมาเลเซีย กลุ่ม SEA จากประเทศสิงคโปร์ Revolution Precrafted จากประเทศฟิลิปปินส์ และ Go-Jek, Tokopedia, Traveloka และ Bukalapak จากประเทศอินโดนีเซีย ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีบริษัทใด ที่เรียกว่าเป็น Startup Unicorn เลย อย่างไรก็ตามได้มีการส่งเสริมในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยได้มีการจัดตั้งสมาคมเพื่อส่งเสริมธุรกิจ Startup และ Venture Capital ขึ้นอีกด้วย

ในปัจจุบันประเทศไทยมี Thai Venture Capital Association เพื่อส่งเสริมธุรกิจ Venture Capital ในประเทศไทย ในการสนับสนุน Startup ที่มี Innovation ที่จะสามารถแก้ Problem หรือ Pain Point ของผู้ใช้ได้จริง ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย ในหลากหลายอุตสาหกรรมเริ่มให้ความสนใจใน Innovation และมีการจัดตั้ง Venture Capital ขึ้นมามากมาย เช่น Digital Ventures, Beacon Venture Capital, Kasikorn Vision และ Bualuang Ventures จากกลุ่มธุรกิจธนาคาร รวมทั้ง AddVentures จากบริษัท SCG เป็นต้น โดยนับเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับวงการ Startup ในบ้านเรา ซึ่งการเกิดขึ้นของ Startup อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกันกับไอเดีย Innovation และวงการ Venture Capital แล้วนั้น เชื่อได้ว่าเราจะสามารถมี Startup Unicorn หรือแม้กระทั่ง Startup Decacorn ไม่ช้าก็เร็วอย่างแน่นอน