W JAMES VENTURES เราเป็นองค์กรที่ทำงานด้วยรูปแบบของ Growth Culture อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งในเรื่องของการทำงาน กระบวนการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแกร่ง
ซึ่งหนึ่งในกระบวนการทำงานที่เป็นเบื้องหลังสำคัญในการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ของ W JAMES VENTURES ไม่ว่าจะเป็น WIRTUAL, The Growth Master หรือ Endlessloop มาตั้งแต่เริ่มแรก ก็คือการทำสิ่งที่เราเรียกมันว่า “Growth Sessions”
โดย Growth Sessions คือการประชุมระดมไอเดียของ W JAMES VENTURES ที่ทีมของเราทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน รับผิดชอบ Business Unit อะไรก็จะต้องเข้าร่วมการทำ Growth Sessions แต่ละครั้งเสมอ เพื่อช่วยกันหาไอเดียที่สามารถนำไปสร้างสรรค์และพัฒนากับผลิตภัณฑ์ของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในบทความนี้เราจะมาอธิบายการทำงานทั้งหมดของ Growth Sessions ที่ W JAMES VENTURES ว่ามีขั้นตอนในการทำงานแต่ละโปรเจกต์เป็นอย่างไร ประโยชน์ที่องค์กรได้รับมีอะไรบ้าง และจะช่วยสร้าง Growth Mindset ให้ทีมของเราได้ดีแค่ไหน ไปติดตามกัน
Growth Sessions คือการประชุมระดมไอเดีย เพื่อให้ทีมทุกคนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ W JAMES VENTURES เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมการทำงานที่ใช้มาตั้งแต่เริ่มสร้างบริษัท โดยเราจะมีการจัด Growth Sessions เป็นประจำทุกเดือน แต่ไม่ได้กำหนดวันที่ตายตัว หรืออาจมากกว่านั้นถ้าต้องการไอเดียแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาโปรเจกต์ต่าง ๆ จากทีมของเราทุกคน
จุดสำคัญของ Growth Sessions ที่ W JAMES VENTURES ก็คือการให้ทีมของเราทุกคน ได้เข้าร่วม Sessions ที่เกิดขึ้นหรือกล่าวคือไม่ว่าคุณจะทำงานอยู่ตำแหน่งอะไร รับผิดชอบ Business Unit ไหนก็สามารถเข้าร่วม Growth Sessions ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้ทีมของเราทุกคนได้รับทราบสถานการณ์ปัจจุบันของโปรเจกต์นั้น ๆ ช่วยกันหาไอเดียที่ดีที่สุดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเรา
ทั้งยังเป็นการฝึกการสื่อสารระหว่างทีม ฝึกความคิดสร้างสรรค์ และปลูกฝังรูปแบบการทำงานในสไตล์ Growth Culture ที่ทีมทุกคนจะต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวเพื่อทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการเติบโตไปพร้อม ๆ กัน
และการทำ Growth Sessions ที่ WJAMES VENTURES นั้นไม่ได้มีแค่เรื่องงานอย่างเดียว แต่เรายังมีการจัด Growth Sessions ที่เกี่ยวกับเรื่องของสวัสดิการ หรือความเป็นอยู่ภายในบริษัทด้วย เช่นให้ทีมช่วยกันระดมไอเดียว่า ต้องการสวัสดิการบริษัทอะไรเพิ่มเติมในปีนี้ หรือ ต้องการให้ที่ออฟฟิศเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวก ความบันเทิง อะไรอีกไหม ซึ่งเป็นการแสดงให้ทีมของเราทุกคนเห็นว่า เสียงของพวกเขาก็มีความหมายในทุกส่วนของบริษัท ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นแต่เรื่องงานอย่างเดียว
หลายครั้งเวลาที่ทีมของเราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้สมัครงานใหม่ ๆ ที่อยากเข้าร่วมทีมกับเรา หนึ่งประโยคที่เราจะได้ยินบ่อยมาก คือการที่ผู้สมัครคนนั้นต้องมีปัญหากับที่ทำงานเก่า หรือต้องลาออกเพียงเพราะรู้สึกไม่ชอบที่ บริษัทเก่าของตัวเองมีการทำงานรูปแบบเก่า ที่ไม่ให้อิสระในการออกความคิดเห็นหรือให้พนักงานแสดงไอเดีย
ปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาที่สะท้อนว่าองค์กรนั้น ๆ มีการทำงานในรูปแบบเก่าหรือ Zombie Culture อย่างแท้จริง ซึ่งต่างจาก W JAMES VENTURES องค์กรที่มีการทำงานในรูปแบบ Growth Culture ที่เราจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ทีมของเราทุกคนได้มีส่วนร่วมกับทุกโปรเจกต์ หรือทุกผลิตภัณฑ์ผ่านการทำ Growth Sessions
เพราะเราเชื่อว่าไอเดียในการพัฒนาโปรเจกต์หรือผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้น ไม่ควรเกิดจากแค่ความคิดของใครคนใดคนหนึ่งหรือแม้แต่ทีมที่รับผิดชอบโปรเจกต์นั้นแต่เพียงกลุ่มเดียว แต่ควรเกิดจากความคิดเห็นของทีมทุกคนในบริษัท ซึ่งบางครั้งก็จะทำให้โปรเจกต์นั้น ได้ไอเดียที่เหนือความคาดหมายและเป็นไอเดียใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาและใช้งานได้จริงกับผลิตภัณฑ์ (แอบบอกว่าหลายโปรเจ็กต์ของบริษัทเราก็ได้ไอเดียเจ๋ง ๆ ในการพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ มาจากทีมของเราทุกคน)
ในการเริ่มต้นทำ Growth Sessions ที่ W JAMES VENTURES ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์หรือผลิตภัณฑ์ใดก็ตาม เราจะเริ่มต้นขึ้นจาก Project Manager ของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นคนกำหนดโจทย์หรือปัญหาที่ต้องการให้ทีมทุกคนช่วยกันระดมไอเดียขึ้นมาก่อน แล้วจึงค่อยนัดวันที่ทีมทุกคนพอมี Slot เวลาสัก 1-2 ชั่วโมง (ระยะเวลาก็จะเพิ่มมากขึ้น ตามขนาดทีมที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน) ผ่านการประกาศใน Tools ที่ใช้สื่อสารกันภายในองค์กรของเราอย่าง Workplace By Meta
จากนั้นเราจะประกาศให้ทุกคนไป Standby อยู่ในอีกหนึ่ง Tools ที่บริษัทของเราใช้ในการระดมไอเดียและทำ Growth Sessions กันอย่าง Miro ซึ่งเป็นเครื่องมือ Infinite Canvas ทำหน้าที่เป็นเหมือน กระดานไวท์บอร์ดออนไลน์ ให้กับทีมในบริษัท
เมื่อทุกคนเข้ามาใน Miro เรียบร้อยแล้ว Lead ของการทำ Growth Sessions ก็จะอธิบายโจทย์ให้ทีมทุกคนรับทราบว่า ไอเดียที่ต้องการจากทีมใน Growth Sessions ในครั้งนี้คืออะไร ซึ่งโจทย์ของการทำ Growth Sessions ส่วนใหญ่จะต้องเป็นโจทย์ในการบรรลุเป้าหมายที่เป็น Growth Rate ของธุรกิจ เช่น ต้องการให้แอปพลิเคชันมียอดจำนวนผู้ดาวน์โหลดเพิ่มขึ้นอีก 5,000 คนในเดือนเดียวด้วยเงิน 0 บาท หรือ ต้องการเพิ่มฟีเจอร์อะไรที่คิดว่าจะทำให้ Users กลับมาใช้ซอฟต์แวร์เราทุกสัปดาห์ ฯลฯ
โดยในการทำ Growth Sessions เราจะให้เวลาทีมทั้งหมด 15-30 นาที (หรือมากกว่า) ในการ Generate ไอเดียให้ออกมาได้มากที่สุด หรือพูดง่าย ๆ ว่าเน้นปริมาณเป็นอันดับที่ 1 คุณภาพเป็นอันดับสอง โดยไอเดียที่ทีมแต่ละคนคิดขึ้นมา จะต้องแปะใส่ฟีเจอร์ Sticky Note หรือกระดาษโพสต์อิทใน Miro ไว้ 1 ไอเดียต่อ 1 แผ่น เพื่อให้ง่ายต่อการแยกแยะและเข้าใจไอเดียของทีมทุกคน
ซึ่งใน 1 กระดาษโพสต์อิทนั้น จะต้องเขียนว่า ไอเดียของเราคืออะไร พร้อมการอธิบายคร่าว ๆ เกี่ยวกับไอเดียนั้นที่เราได้คิดขึ้นมา และให้ใส่ ICE Score ที่ตัวเองคิดไว้มาด้วย แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า ICE Score คืออะไร เราจะขออธิบายให้คุณเข้าใจกันก่อน
ICE Score คือ เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อจัดลำดับความสำคัญ สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจ Startup หรือบริษัทที่ทำงานด้วยโมเดล Growth Hacking / Growth Marketing มักจะนิยมใช้งานกันในเวลาที่มีการประชุมทีมหรือระดมไอเดียแบบ Growth Sessions
ซึ่ง ICE Score จะแบ่งได้ 3 เกณฑ์ดังนี้
ทั้ง 3 เกณฑ์จะมีคะแนนเต็มอยู่ที่ 10 คะแนน โดยเราจะให้ทีมที่เข้าร่วมในการทำ Growth Sessions ระบุ ICE Score ของแต่ละไอเดียลงไปด้วย เพื่อให้ Project Manager หรือ Lead ของการทำ Growth Sessions ในครั้งนั้น เห็นถึงความเป็นไปได้และพิจารณาไอเดียของแต่ละคนว่าจะสามารถนำไปทำอะไรต่อในโปรเจกต์ของเราได้บ้าง
หลังจากที่ทีมทุกคนได้เขียนไอเดียของตัวเองลงไปใน Miro พร้อมกับการระบุ ICE Score แล้ว เราก็จะมีการให้ทีมทุกคนได้มีโอกาสมาพรีเซ็นต์ไอเดียของตัวเองภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที เพื่อบอกเล่าให้ทีมคนอื่น ๆ ได้เห็นภาพในไอเดียของตัวเองที่ไม่ได้เขียนไว้ใน Miro ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เมื่อทีมทุกคนได้พรีเซ็นต์ไอเดียของตัวเองเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือการให้ทีมของเราทุกคนได้ “โหวตคะแนน” ให้ไอเดียที่เรารู้สึกว่าชอบที่สุดหรือเป็นไอเดียที่สามารถนำไปพัฒนากับผลิตภัณฑ์ต่อได้จริง ซึ่งวิธีการโหวตก็ไม่ซับซ้อน เพียงแค่เลือก Emoji หรือ Sticker ใน Miro ที่บ่งบอกความเป็นตัวเอง แล้วนำไปแปะตรงโพสต์อิทของไอเดียที่เราชื่นชอบที่สุด โดยทีม 1 คนจะสามารถโหวตไอเดียที่ชื่นชอบได้กี่ครั้งก็ได้ โหวตให้ใครก็ได้ แต่ใน 1 ไอเดียเราจะโหวตได้เพียงแค่ครั้งเดียว (ห้ามโหวตเกิน 2 ครั้งต่อ 1 ไอเดีย)
และเมื่อทีมทุกคนได้ทำการโหวตไอเดียที่ชื่นชอบครบหมดแล้ว Project Manager หรือ Lead ของการทำ Growth Sessions ในครั้งนั้น ก็จะนำไอเดียที่ได้รับผลโหวตมากที่สุด หรือบางครั้งอาจเป็นไอเดียที่ไม่ได้รับคะแนนโหวตเยอะ แต่ Project Manager หรือ Lead ของการทำ Growth Sessions เล็งเห็นว่าสามารถนำไปใช้งานต่อได้จริง ไปพัฒนาสำหรับผลิตภัณฑ์หรือโปรเจกต์นั้น ๆ ต่อไปในอนาคต
ในการทำ Growth Sessions ครั้งนั้นโจทย์คือ ให้ทีมทุกคนช่วยคิดว่า ถ้า WIRTUAL อยากจะมี Challenge ที่เกี่ยวข้องกับการเต้น (Dancing) อยากให้มี Challenge ประมาณไหน มีกิมมิคอย่างไร
ซึ่งทีมก็ได้ Generate ไอเดียออกมามากมาย แต่มีไอเดียหนึ่งที่ทีมเล่าว่า “อยากไปผับเพื่อเต้นให้ลืมเธอ” คำพูดนั้นทำให้ทีมของเรารู้สึกว่า น่าจะเอากิมมิคนี้มาสร้างเป็น Challenge เอาใจคนอกหัก คนเศร้าบ้าง ทำให้แอปพลิเคชัน มีความหลากหลาย เข้าถึงง่าย มีความ Variety มากขึ้น และสุดท้ายทีมก็ได้นำเอาไอเดียนี้ไปพัฒนาต่อจนกลายเป็น Challenge : Beat of a Broken Heart ภายในแอปพลิเคชัน WIRTUAL ที่เปิดให้เล่นกันได้แบบฟรี ๆ แล้ววันนี้
มาที่อีกหนึ่งโปรเจกต์ของ W JAMES VENTURES อย่าง The Growth Master ที่ก็มีการทำ Growth Sessions ในโจทย์ที่ว่า ควรจะเพิ่มหมวดหมู่ของคอนเทนต์อย่างไร ให้คอนเทนต์ของ The Growth Master ดูมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เสีย Position ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของธุรกิจและศาสตร์ Growth
โดยเราได้ไอเดียจากทีมใน Growth Sessions ว่า ควรจะพูดถึงเรื่องของการสร้าง Growth Mindset เพิ่มขึ้นอีก เพราะเป็นสิ่งที่ดูมีความเป็น Growth ที่เข้าถึงง่ายมากที่สุดในสมัยปัจจุบัน และบางส่วนอยากให้พูดถึงเรื่อง วัฒนธรรมองค์กร เพิ่มขึ้นด้วยเพราะคิดว่าการสร้างธุรกิจให้เติบโตในปัจจุบัน ต้องอาศัยการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เป็นพื้นฐานที่แข็งแรงก่อนเสมอ
จากไอเดียทั้ง 2 อย่างนั้นทีมได้เอามาทำการผนวกรวมกัน ให้กลายเป็น Content Category ใหม่ในชื่อ “Growth Culture” ซึ่งเป็นหมวดหมู่คอนเทนต์ใหม่ที่จะนำเสนอในเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการเติบโตของธุรกิจ รวมถึงเนื้อหาด้านการสร้าง Growth Mindset ในแง่การทำงาน การใช้ชีวิต ให้กับผู้อ่านในแบบฉบับเข้าใจง่ายและนำไปประยุกต์ใช้กับตัวเองได้จริง
ถ้าคุณอ่านบทความมาถึงตรงนี้ แล้วรู้สึกว่าตัวคุณเองชื่นชอบกับองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับทีมในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ชีวิตความเป็นอยู่ และทำให้ “ไอเดีย” ของคุณมีความหมายช่วยสร้างการเติบโตให้องค์กรได้จริง ที่ W JAMES VENTURES ก็ต้องการคนแบบ “คุณ” อยู่เช่นกัน
สมัครงานกับเรา กดดูตำแหน่งที่รับสมัคร ได้เลยตอนนี้ !