การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีคือส่วนหนึ่งที่ยากที่สุดของการสร้างธุรกิจ และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยหากต้องการเป็นบริษัทที่เติบโตและใหญ่ขึ้น เมื่อนำมารวมกับนวัตกรรม การสร้างสิ่งใหม่ๆ ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากมากกว่าเดิม และผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลภาษาไทยที่ช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องการสร้าง Innovation Culture สำหรับบริษัทหรือทีมขนาดเล็กมากที่สุดบทความหนึ่ง
“One size fit all คือ สิ่งที่ไม่มีจริงสำหรับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร”
สิ่งที่เวิร์คสำหรับองค์กรหนึ่งอาจไม่เวิร์คกับอีกที่เลยก็ได้ เพราะองค์ประกอบของแต่ละบริษัทนั้นแตกต่างกันมาก ถึงแม้ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อว่ามันคือตัวแปรสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญ คือ
ผู้นำต้องเข้าใจคำว่านวัตกรรมและการสร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมด้วย โดยคำว่าเข้าใจ ขอสรุปออกให้เข้าใจง่ายๆดังนี้
Innovation คือการสร้างของใหม่ ในทุกๆครั้งที่เราสร้างสิ่งใหม่ๆออกมา สิ่งที่ต้องเจอมักจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง แต่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ เริ่มตั้งแต่ วิธีคิด ทีม โครงสร้างผลิตภัณฑ์ มากมายหลากหลาย สรุปอย่างสั้นๆ ความหมายของ Innovation อาจเรียกได้ว่าคือเรื่องของการเปลี่ยนแปลง
และ Culture ซึ่งเป็นคำนิยามที่มีความหมายกว้างมากๆ ในที่นี่ผมขอให้ความหมายว่ามันคือเรื่องของความสัมพันธ์ เป็นความสัมพันธ์ที่รวบรวมความเชื่อ รูปแบบพฤติกรรม ของผู้คนกับสิ่งต่างๆหรือกับผู้คนด้วยกันเอง
เพราะเมื่อเราพูดถึงวัฒนธรรมตั้งแต่ในระดับประเทศไปจนถึงองค์กร สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือการที่เราให้ความหมายในความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เช่น เราเกิดในประเทศไทย เมื่อนึกถึงประเทศเรา ภาพที่ติดหัวใครหลายคนอาจจะเป็นภาพวัด เพราะเรานั้นให้ความหมายในสัมพันธ์กับสองสิ่งนี้มาคู่กัน
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน Innovation Culture คือ ความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลง หรือคือวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น
คุณจะเห็นได้ว่า บริษัทที่มี Innovation Culture ชั้นนำของโลกนั้น มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีสุดๆ องค์กรนั้นเรียกได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงแทบจะตลอดเวลา ซึ่งตรงกันข้ามกับวิถีการทำงานกับบริษัทรุ่นเก่าที่จะเน้นความมั่นคง และเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งใดก็ตาม จะใช้เวลาที่นานและกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั้นยากมากๆ
“We look for insights to develop into ideas, and then into value- adding innovations. This is what innovation’s Creative Geniuses do.
We support innovation by helping creative people overcome the obstacles that otherwise inevitably impede their innovation efforts. This is what Innovation Champions do.
And we define our firm’s expectations and policies to favor innovation. This is what Innovation Leaders do.”
หรือพูดได้อีกอย่างว่า Innovation Culture นั้นเกิดขึ้นจากในระดับทั้งองค์กร ไม่ใช่เพียงแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถ้าอยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ต้องเริ่มสร้างทั้ง 3 ตำแหน่งนี้
คือ คนที่มีข้อมูลเชิงลึก (Insights) อะไรบางอย่างที่น่าสนใจ นำมาเปลี่ยนเป็นไอเดียที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้ โดยคนในตำแหน่งนี้นั้นส่วนใหญ่แล้ว ก็คือ ทุกคนนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น พนักงานในบริษัท หรือพาร์ทเนอร์นอกบริษัท ที่ปรึกษา คู่ค้า หรืออาจะเป็นลูกค้าก็ได้
เป็นคนที่ทำงาน ได้เจอปัญหาจริง ความต้องการของลูกค้าที่บริษัทไม่สามารถเติมเต็มได้ หรือช่องว่างของตลาดที่มีโอกาสอยู่ การให้โอกาสทุกคนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์มากกว่าทำงานไปวันๆ คือส่วนหนึ่งของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อนวัตกรรม
เราสามารถเริ่มเปลี่ยนคนทั้งในและนอกองค์กร ให้เป็น Innovation’s Creative Geniuses ได้ด้วยการเริ่มเปลี่ยนวิธีคิด จากการทำงานที่เป็นอยู่ทุกวันในปัจจุบัน ให้กลายเป็น วิธีคิดที่เค้าเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ที่เค้าสามารถสร้างได้
ใช้การเปิดโอกาสให้ผู้คนได้เริ่มแสดงไอเดีย ได้ลองทำ และสร้างผลลัพธ์ทางนวัตกรรมได้ด้วยตัวเอง
คือ คนหรือกลุ่มคนที่คอยช่วยและผลักดันให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในองค์กรได้จริง นี่คือหนึ่งในตำแหน่งสำคัญ เพราะในการสร้างของใหม่ๆ เราจะเจอกับปัญหาต่างๆมากมาย ถ้าไม่มีคนคอยสนับสนุน แก้ปัญหาต่างๆ คอยให้กำลังใจ จัดหาทรัพยากรให้ ก็ยากที่นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้
ส่วนหนึ่งที่สำคัญของนวัตกรรม คือ การทำงานร่วมกัน หน้าที่สำคัญของการเป็น Innovation Champions คือ การหาคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะทำงานในด้านนี้ ไปคอยช่วยให้เค้าสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ไอเดียหลากหลาย และทำงานร่วมกับผู้คนที่เป็นแบบเดียวกัน
และอีกส่วนหนึ่งนั้นเกิดขึ้นจากภายใน หรือคือความเชื่อใจ เราสามารถเชื่อใจบริษัทได้ว่าให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จริง กล้าที่จะให้ล้มเหลวและทรัพยากรมากพอให้เกิดขึ้นได้ ซึ่ง Champion คือคนที่ต้องสร้างความเชื่อใจเหล่านี้ให้เกิดขึ้น
โดยส่วนใหญ่แล้วในบริษัทที่ค่อนข้างเล็ก คนที่จะเป็น Chmapion ก็จะเป็นเหล่าผู้ก่อตั้งนั้นเอง
คือ คนที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างบริษัทออกแบบให้เหมาะสมกับการสร้างนวัตกรรม เพื่อให้ทุกคนในองค์กรเห็นได้ชัดเจน เพราะโครงสร้างนั้นจะเป็นตัวบอกว่า คนในองค์กรจะปฏิบัติตัวอย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นการออกนโยบาย กฎระเบียบ การให้โบนัส และตัววัดผลเพื่อประเมินผลงาน เปรียบเหมือนการทำให้รูปแบบการสร้างนวัตกรรมให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้ เพราะถ้าการวางโครงสร้างนั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับนวัตกรรม ต่อให้จะมีส่วนอื่นทำได้ดีแค่ไหน สุดท้ายก็ไปไม่รอดอยู่ดี เพราะคนที่ทำงานด้านนวัตกรรมได้ดี ถูกวัดผลด้วยรูปแบบเดิมๆ ก็จะกลายเป็นคนที่ทำงานประสิทธิภาพต่ำทันที
หน้าที่ของ Innovation Leaders คือการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ ว่าบริษัทนั้นให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและพร้อมจะให้ทรัพยากรเพื่อที่จะทำในด้านนี้ ผ่านการออกนโยบายและรูปแบบการให้รางวัลต่างๆ
คุณสามารถเปรียบเทียบนโยบายบริษัทด้านนวัตกรรมกับบริษัทที่ไม่ใช่ได้ เพื่อดูความแตกต่างที่แสดงออกมาในกระดาษและรูปแบบพฤติกรรมของทีมงานด้วย
อันดับแรกอย่างที่ผมย้ำไปก่อนหน้านี้นั้น คือ ต้องเริ่มจากผู้นำที่เข้าใจในการสร้างนวัตกรรมจริงๆ เพื่อที่เค้าเหล่านั้นให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งเหล่านี้…
กระบวนการนี้เราได้ใช้ในการสร้างสตาร์ทอัพข้างในบริษัทของเราให้เกิดขึ้น
ในขั้นตอนของการสร้างไอเดีย กระบวนการนี้ในบริษัทของเราจะทำทุกเดือน โดยจะเรียกทุกคนในบริษัทมารวมกัน เพื่อแชร์ Insight ที่แต่ละคนได้เจอมา และคิดออกมาเป็นไอเดียใหม่ๆที่น่าสนใจ ในขั้นตอนนี้เราจะเน้นจำนวน ให้มีจำนวนไอเดียมากที่สุด หลังจากนั้นจะนำมาให้คะแนน (ICE score) เพื่อเรียงลำดับความสำคัญในการนำไปพัฒนาให้เกิดขึ้นจริง
ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เราจะสร้างออกมาเป็น MVP เพื่อทดสอบให้เร็วที่สุด หรือถ้าเป็นไอเดียสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว เราจะสร้างออกมาเป็นฟีเจอร์ ในขั้นตอนนี้ส่วนที่สำคัญอย่างแรกคือ การตั้งสมมติฐานที่ถูกต้องสำหรับการทดสอบ มีตัววัดผลที่ชัดเจน
และสามารถสร้างอะไรบางอย่างเพื่อออกมาทดสอบสมมติฐานนั้นได้ และท้ายที่สุดจะต้องไม่หลงรักในสิ่งที่สร้างมาแล้วจนเกินไป (เพราะเราเจ็บตัวกับเรื่องนี้มาแล้ว) Data ที่ได้จากลูกค้านั้นเป็นส่วนสำคัญที่เราต้องใช้ในการตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ควรไปต่อจริงหรือไม่?
เมื่อนำผลิตภัณฑ์ไปทดสอบกับลูกค้าจำนวนหนึ่งจนได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วว่า ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ในระดับที่เค้ายอมควักเงินเพื่อใช้บริการ เป็นเครื่องยืนยันว่าสามารถสร้างเป็นธุรกิจได้จริง
เราจะนำเงินจำนวนหนึ่งมาทุ่มสำหรับการตลาดเพื่อสร้างยอดเข้ามาให้ผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นยอดผู้เข้าชม ดาวน์โหลด ผู้ใช้งาน รวมถึงลูกค้า ในขั้นตอนนี้เราจะใช้บริการเอเจนซี่ภายในบริษัททำงานให้
เมื่อมียอดที่มากพอจนสามารถต่อยอดได้ และเราทำในทุกทางเพื่อให้มันเติบโตได้ทั้งหมดแล้ว เราจึงจะค่อยไปขอเงินลงทุนจากด้านนอกบริษัท เพื่อต่อยอดในส่วนที่เราไม่สามารถทำได้ในสเกลที่ใหญ่มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งในตอนนี้เรายังไปไม่ถึงขั้นนี้ จึงไม่สามารถอธิบายรายละเอียดได้มากกว่านี้ครับ
"Failure is an option here. If things are not failing, you are not innovating enough." - Elon Musk, CEO and Founder of Tesla, SpaceX
มันคือเรื่องของผู้คน และผู้คนเท่านั้นที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้จริง หนึ่งในกลยุทธ์ของบริษัทที่ผมเชื่อว่าเหมือนกันเลย ก็คือ นำคนที่ใช่เข้ามา และพาคนที่ไม่ใช่ออกไปให้เร็วที่สุด
นวัตกรรม คือ อุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมากและเร็ว ดังนั้นคนที่เรารับเข้ามาในทีมต้องเร็ว พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ได้ตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือสามารถเรียนรู้เรื่องใหม่ๆและสร้างออกมาเป็นผลลัพธ์ให้ได้ในเวลาที่สั้น (ไม่ใช่แค่เรียนรู้อย่างเดียว)
แต่เราจะรับคนที่เหมาะกับบริษัทมาได้ ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงระดับนี้ จำเป็นต้องมีกระบวนการรับสมัครที่ดี มีการคัดกรองที่ใช้เวลาหลักเดือน และมีโจทย์ที่ท้าทายมากพอให้กับผู้สมัคร
เพราะท้ายที่สุดแล้ว มันก็คือเรื่องของ คน นวัตกรรมเริ่มที่คนและจบลงที่คน เช่นเดียวกัน
ถ้าคุณสนใจและอยากทำงานกับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับไอเดียของคุณ กล้าที่จะให้พื้นที่สำหรับความล้มเหลว ลองผิดลองถูก และทรัพยากรที่มากพอเพื่อให้เกิดขึ้นจริง รวมถึงได้ทำงานกับคนที่เป็นเหมือนกันกับคุณ สามารถดูตำแหน่งที่เปิดรับอยู่ได้เลย
หนึ่งในตัวอย่าง ที่เราได้ให้โอกาสคนในทีมเพื่อทำโปรเจ็คให้เกิดขึ้นได้จริง และนี่คือผลลัพธ์โดยคุณสามารถเข้าดูได้ที่ www.thegrowthmaster.com
Innovation Culture คือสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะมันไม่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในตอนแรก ต้องใช้การทำงานร่วมกันอย่างจริงจังของทั้งองค์กรถึงจะเกิดขึ้นมาได้ และในรูปแบบของการเกิดขึ้นในแต่ละองค์กรก็แตกต่างกันอีก เมื่อมันไม่มีรูปแบบที่ตายตัว จึงเป็นการหยิบสิ่งต่างๆที่คิดว่าเหมาะกับวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองเพื่อไปปรับใช้พัฒนาให้เกิดขึ้นได้จริงมากกว่า
วิธีดูว่าคุณมาได้ถูกทางแล้วรึเปล่า สิ่งสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนไปคือ ความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของบริษัทคุณไปในทิศทางที่ดีขึ้นไหม คนในองค์กรรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงคือเรื่องที่ดีไหม ทำได้เร็วขึ้น และง่ายขึ้นไหม ไปในทิศทางที่ดีกว่าบริษัทเมื่อวานหรือเปล่า
Happy Building
ขอบคุณครับ